Skip to content

โรคลิ่มเลือดอุดตัน อันตรายในทุกวัย

VTE

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism: VTE) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีความเครียดหรือเครียดเรื้อรัง ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี แต่ก็มีผู้ที่อายุน้อยกว่านี้ที่พบเจออาการลิ่มเลือดอย่างรุนแรง ซึ่งสาเหตุของอาการนี้เกิดจากการที่หลั่งฮอร์โมนอย่างไม่เหมาะสม หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของฮอร์โมนในระบบการทำงานของร่างกาย อาการลิ่มเลือดนั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างมาก รวมถึงอาจเสียชีวิตอย่างคาดไม่ถึง

 

สาเหตุของลิ่มเลือดอุดตัน

1. ผนังหลอดเลือดผิดปกติ

ผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะอุดตันหรือเสียหาย สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ นอกจากนี้ การเจ็บปวดเพราะบาดแผลหลังการถูกมีดบาด หรือการผ่าตัดบางอย่าง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้

2. การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ

การไหลเวียนของเลือดที่ไม่ปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้การบีบตัวของหัวใจในการส่งเลือดขาดความต่อเนื่อง เกิดจากตัวผนังหลอดเลือดมีความโป่งพอง ทำให้เมื่อหัวใจบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะเกิดการรวน ติดขัด ไม่ราบรื่น หรือเกิดจากภาวะเจ็บป่วยบางอย่างที่ทำให้ร่างกายขยับไม่ได้ การไหลเวียนของเลือดก็จะช้าลง ซึ่งเมื่อการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จะเสี่ยงทำให้เกิดตะกอนได้ง่าย ส่วนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ก็อาจเกิดการกระจุกอุดตันได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน

3. การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย สาเหตุเกิดจากสารห้ามการแข็งตัวของเลือดในร่างกายบกพร่อง เช่น ร่างกายขาดโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือด

 

อาการของลิ่มเลือดอุดตัน

อาการลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่พบได้บ่อย แบ่งเป็นบริเวณที่อุดตัน คือ ส่วนของหลอดเลือดดำ และ ปอด

อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก อาการของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
– ปวดที่ขาหรือน่อง – หายใจลำบาก
– บวมที่แขน ขา หรือข้อเท้า – เจ็บหน้าอก
– หลอดเลือดแข็ง ปวดเมื่อกดลงไป – หัวใจเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ
– สีผิวที่ขาเปลี่ยนเป็นสีเขียวช้ำ – ไอ
– สีผิวที่ขาเป็นสีแดงหรือซีด – วิงเวียนศีรษะ
– รู้สึกอุ่นร้อนบริเวณขาด้านที่เป็นเนื่องจากหลอดเลือดขยายตัว

นอกจากนี้ หากลิ่มเลือดที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดท้อง ชา หน้ามืด เป็นต้น อาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้

กลุ่มมีโอกาสเป็นลิ่มเลือดอุดตัน

  • เคยเป็นโรงที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
  • ไม่ขยับตัวเป็นเวลานาน จากการผ่าตัดใหญ่ที่ใช้เวลาพักฟื้นนาน
  • เคยกระดูกหักหรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
  • กินยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเม็ดเลือด

มีรายงานพบว่า ผู้ป่วยที่เคยเป็นโควิดมาก่อน มีโอกาสเสี่ยงกับภาวะนี้มากขึ้น และอาจพบเห็นได้มากขึ้นในอนาคต

วิธีป้องกันเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

  • ดื่มน้ำในปริมาณอย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน เพื่อลดโอกาสพบภาวะเลือดหนืด
  • หากมีโรคประจำตัวหรือมีใช้ยาบางประเภทที่ส่งผลให้เลือดหนืดขึ้น เช่น ยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์
  • หมั่นออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ
  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารที่มีรสหวาน

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • การไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การนั่งทำงานทั้งวัน นั่งทับเส้นเลือดขาเป็นเวลานาน

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลรักษาตนเอง ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือเส้นเลือดอุดตัน ควรดูแลสุขภาพให้ดีโดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เดินและวิ่งเป็นประจำ รับประทานอาหารที่เหมาะสมและสมดุล หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เน้นการรักษาความเครียดให้น้อยลง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ