Skip to content

วิธีใช้เครื่องผลิตออกซิเจนในบ้าน (Oxygen Concentrator)

Oxygen Concentrator

การผลิตออกซิเจนในบ้านสามารถทำได้โดยใช้เครื่องผลิตออกซิเจน (oxygen concentrator) ซึ่งเป็นเครื่องที่สามารถแยกออกซิเจนจากอากาศ ช่วยให้ผู้ที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น รวมถึงคนวัยทำงานที่เคยมีปัญหาจากฝุ่น ปอดอักเสบจากโควิด หรือ โรคประจำตัวต่างๆ แม้แต่ออกกำลังกายบ่อย นอนไม่พอเพราะหายใจติดขัด ก็สามารถใช้เครื่องชนิดนี้ได้ ควรปรึกษาแพทย์กับทีมงานก่อนเพื่อทำความเข้าใจถึงเครื่องมือชนิดนี้มากขึ้น

วิธีการใช้เครื่องผลิตออกซิเจนในบ้าน

หลัก ๆ ก็จะมีปุ่มเปิด ปิด ปุ่มปรับอัตราการไหลของออกซิเจน

ช่องที่ออกซิเจนออกมีที่วางสําหรับกระป๋องที่เพิ่มความชื้นให้กับอากาศที่เราหายใจ มีกระป๋องเพิ่มความชื้นสําหรับอากาศ

กระป๋องบนเครื่องโดยปกติจะต้องเติมน้ำ ควรเป็นปราศจากเชื้อ แต่ถ้าในกรณีจําเป็นเราสามารถใช้น้ำดื่มบรรจุขวดที่สะอาดมาใช้แทนได้

เมื่อเปิดออกมาแล้ว ฝาให้หงายขึ้น เติมน้ำ เติมน้ำประมาณ 3 ใน 4 ของกระป๋อง ไม่จําเป็นต้องเติมให้เต็ม เพราะว่าระหว่างการทํางานของเครื่องอาจจะทําให้เกิดฟองของน้ำ และทําให้น้ำกระฉอกออกจากตัวกระป๋องได้

ปิดกระป๋องให้แน่นในแต่ละเครื่อง เขาจะมีท่อเพื่อต่อ ออกซิเจนจากเครื่องเข้าสู่กระป๋อง

โดยปกติ ออกซิเจนจากเครื่องหรือแหล่งกําเนิดอื่นๆ หรือว่าจะเป็นแท้งค์ก็ตาม จะเข้าทางด้านบน เพื่อผ่านท่อ ผ่านน้ำ แล้วไหลขึ้น

อุปกรณ์ที่จําเป็นต้องใช้ถัดมาก็คือว่า เป็นอุปกรณ์การให้ออกซิเจนไปยังผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 อย่าง

  • การให้ออกซิเจนทางจมูก
  • หน้ากากออกซิเจน
  • ส่วนถุงสํารองอากาศ หรือไม่มีถุงก็ได้

เวลาที่เราเลือกใช้แล้วแต่คุณหมอเขาแนะนํา คนไข้แต่ละท่านมีความจําเป็นในการใช้ออกซิเจนแตกต่างกัน

การติดตั้งและวางเครื่องออกซิเจนในบ้าน
วางในบริเวณที่ใกล้กับผู้ป่วย โดยตัวเครื่องไม่ควรอยู่ชิดกับผนังมากเกินไป เพราะว่าตัวเครื่องมีความร้อน
ในบริเวณที่เราจะให้ออกซิเจนกับคนไข้ ต้องระวังพวกประกายไฟ สามารถจะช่วยให้ไฟติด แต่ออกซิเจนไม่ติดไฟ

การติดตั้งเตรียมใช้งาน

  • เริ่มแรกเสียบปลั๊ก เปิดสวิสต์ หาที่วางกระป๋อง
  • หาสายต่อมันจะมากับเครื่องเข้าทางด้านบนของกระป๋องน้ำ
  • ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนตามที่แพทย์แนะนํา

ในการปรับอัตราการไหลมันจะมีลูกบอลสีดําหรืออาจจะเป็นสีอื่น ตัวลูกลอยให้อยู่ประมาณกึ่งกลางของตําแหน่งของขีดที่เราต้องการ

หากมีลมออกมาทางด้านหน้าของกระป๋อง แสดงว่าออกซิเจนได้ออกมาเรียบร้อยแล้ว

ต่อสายผ่านจมูก

เวลาต่อสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก ให้ต่อจากเครื่องก่อนไปหาคนไข้ เพราะถ้าต่อจากคนไข้ก่อนอาจจะไม่สบายจากความดันเครื่อง

วิธีการใส่อุปกรณ์ให้ออกซิเจนผ่านทางจมูกมี 2 วิธี

วิธี 1: ใส่แบบอ้อมหูมาทางด้านหน้า โดยการคล้องตรงบริเวณหูแบบนี้ ปรับความตึง ให้พอเหมาะ ไม่ตึงเกินไป

วิธี 2: จะเป็นการอ้อมไปทางด้านหลัง กดให้ แล้วก็ปรับระดับความตึงให้พอดี โดยให้สายอยู่บนหู ในลักษณะนี้ ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่ง ตรงบริเวณของปลายของสายที่จะเข้าไปในจมูกของคนไข้ ในบางรุ่น ตรงปลาย 2 อันนี้ มันจะมีความโค้ง ความโค้งนี้เวลาเราใส่ ให้ความโค้งนี้ชี้ลงล่าง ไม่ใส่ ย้ายขึ้น เพราะว่ามันจะได้เข้ากับลักษณะของโพรงจมูก

 

คำถามที่พบบ่อย

รุ่น 3 ลิตรต่างจาก 5 ลิตรอย่างไร

ขนาด 3 ลิตร กับ 5 ลิตร ต่างกันที่ ความสามารถในการปรับอัตราการไหลได้สูงสุดต่อนาที ที่ยังคงให้ออกซิเจนระดับสูง ขึ้นกับสภาพของผู้ป่วย

ทำไมบางยี่ห้อไม่มีเครื่องผลิตออกซิเจน 3 ลิตร

ช่วงแรกๆที่เครื่องผลิตออกซิเจนเข้ามาจำหน่ายราคา จะค่อนข้างสูงมาก

ทางประเทศจีน จึงมองเห็นช่องทางการตลาดส่วนนี้ จึงผลิต 3 ลิตรเพิ่มขึ้นมาสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะใช้บ้างหรือใช้น้อย  เพื่อขายได้ในราคาถูก

ส่วนทางอเมริกา-ยุโรป จะไม่มีเครื่อง 3 ลิตรออกมา เพราะเค้าถือว่าสเปคการใช้งาน ไม่ครอปคลุมที่จะใช้กับผู้ป่วย

ออกซิเจนแค่ไหนถึงเรียกว่าต่ำ

ออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือ ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำน้อยกว่าร้อยละ 90-92

หากระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงมาก อาจทำให้อวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

เปลี่ยนน้ำบ่อยแค่ไหน

เติมเมื่อระดับของน้ำเกือบต่ํากว่าปลายของท่อที่ยื่นลงมา ก็ควรจะเติมน้ำ เพื่อให้ปลายท่อจมอยู่ใต้น้ำ

เราสามารถเปิดอัตราไหลออกซิเจนไปที่สูง ๆ เลยได้ไหม

ควรจะตามคําแนะนําของแพทย์ ไม่ควรปรับค่าเอง

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในรุ่นที่พ่นยาได้

  • ในเครื่องบางรุ่น นอกจาก สามารถผลิตออกซิเจนได้แล้ว เค้ายังสามารถใช้พ่นยาได้ด้วย เพราะฉะนั้นจะสังเกตว่าตรงปุ่มทางด้านหน้า ตรงท่อทางด้านหน้า มันจะมีทางออก 2 ทาง
  • ถ้าเรากดปุ่มผิด ไปเป็นปุ่มพ่นยา แล้วเราไปเสียบท่อที่ปุ่มออกซิเจน อากาศที่ปุ่มออกซิเจนจะไม่ออกมา
  • เพราะฉะนั้นการใช้งานทุกครั้ง ต้องสังเกตว่ามีอากาศออกจากเครื่อง ในปุ่มที่ถูกต้อง และมีอากาศผ่านกระป๋องน้ำ และมีอากาศไหลสู่คนไข้

สิ่งที่ต้องเฝ้าสังเกตมีอะไรบ้าง

  • กรณีรั่วให้สังเกต ซึ่งจะได้ยินเสียงลมเล็กน้อย อาจสังเกตยากเพราะเครื่องผลิตออกซิเจนส่วนใหญ่จะมีเสียงในการผลิต
  • ระวังเรื่องไฟดับ ซึ่งอาจทำให้เครื่องหยุดทำงานได้ในบางเวลา

 

เครื่องผลิตออกซิเจนได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไวรัสระบาด ทำให้มีผู้ป่วยมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีในการผลิตก็สูงขึ้น ทำให้มีหลายรุ่นหลายราคาจากแบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีทั้งแบบซื้อขาดและเช่า ควรพิจารณาจากตัวแทนจัดจำหน่ายที่มีความรู้ความเข้าใจและสอบถามแพทย์เกี่ยวกับสเปคเครื่องที่ต้องใช้ เลือกซื้อสินค้าที่มีการรับประกันสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพเพื่อคนที่คุณรัก