Skip to content

โปรตีนจากสัตว์ vs พืช แบบไหนดีกว่ากัน

  • by
plant vs animal

โปรตีนเป็นสารอาหารที่หาได้ง่าย ทั้งจากสัตว์ พืช หรือแบบสังเคราะห์แบบเวย์โปรตีน โปรตีนผงต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่า โปรตีนในปริมาณที่เท่ากัน กลับไม่ได้มีคุณค่าที่เท่ากัน ขึ้นกับว่าเป็นโปรตีนจากสัตว์ชนิดใด หรือ พืชชนิดไหน ควรทานอย่างไรถึงจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เป็นโทษต่อสุขภาพ

 

IGF-1 เร่งกล้ามเนื้อ

โมเลกุลหนึ่งที่เรียกว่า IGF-1 (Insulin-like growth factor 1) นักเล่นกล้ามบางคนจะใช้ IGF-1 และ growth hormone เพื่อเพิ่มกล้าม (Growth hormone และ IGF-1 มีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราเยาว์วัยขึ้น ซ่อมแซมส่วนที่เสียไปของร่างกายได้ดีขึ้น และจะออกฤทธิ์ผ่าน IGF-1

ข้อดี IGF-1

  • ทำให้กล้ามเจริญเติบโตดี
  • ลดไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ดูลีนมากขึ้น
  • ทำให้สมองเจริญเติบโตลดความเสื่อม เพิ่มความจำ ป้องกันความจำเสื่อมได้

ข้อเสีย IGF-1 (กรณีมากเกินไป)

  • ในสัตว์ทดลอง ในเซลล์ แม้กระทั่งในคน หากมี IGF-1 มากเกินไป จะทำให้อายุสั้นลง และเป็นมะเร็ง หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น

ดังนั้น ถ้าไม่มี IGF-1 เลยก็จะเกิดโรคความจำเสื่อม แก่เร็ว กล้ามเนื้อลีบฝ่อ และพบว่าคนที่มีอายุเยอะๆ จะมี IGF-1 ลดลง และจะพบว่ามีความจำที่เสื่อมลง กล้ามเนื้อลีบฝ่อลง

แต่ถ้ามีมากเกินไป ก็จะเกิดโรคความเสื่อมต่างๆ และ อายุที่สั้นลง ควรต้องอยู่ตรงกลางจึงจะดี

 

เนื้อสัตว์มีกรดอะมิโนที่จำเป็นเยอะกว่า

กรดอะมิโนที่จำเป็นคือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จะต้องอาศัยจากการรับประทานเข้าไป มี 9 ชนิด ได้แก่

  1. Histedine
  2. Isoleucine
  3. Leucine
  4. Valine
  5. Phenylalanine
  6. Methionine
  7. Lysine
  8. Threonine
  9. Tryptophan

ที่สำคัญ Isoleucine, Leucine และ Valine จะเป็นกลุ่มอะมิโนที่มี Branched Chain Amino Acids โดยเฉพาะ Leucine จะกระตุ้น IGF-1 ได้ดี

ดังนั้นกลุ่มเนื้อสัตว์ทั้งหมดจะเพิ่ม IGF-1 ทำให้เรามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีความจำที่ดี แต่การที่มี IGF-1 ลอยอยู่ในร่างกายเยอะๆ ก็จะไปกระตุ้นเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็งให้แบ่งตัวต่อไปได้

วิธีการคือ เราควรนำเอา IGF-1 ไปอยู่ในบริเวณที่ได้ใช้ได้แก่

  • กล้ามเนื้อ
  • ไขมันตามผิวหนัง
  • สมอง

ทำได้โดยการออกกำลังกาย โดยเฉพาะ ออกกำลังกายหนักพอสมควร 30 นาทีต่อวัน หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ รวมๆแล้วประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะทำให้กระตุ้น IGF-1 ไปในที่ๆสมควรจะไป แล้วระดับ IGF-1 ในเลือดจะลดลง เพราะถูกดึงไปที่ๆสมควรจะไป โอกาสเกิดมะเร็งก็จะน้อยลง

 

ประโยชน์และโทษของโปรตีนจากพืช

ข้อดี คือ กลูคากอนจะไปที่ตับ จะไปกระตุ้นเอนไซม์กลุ่มหนึ่ง ทำให้สร้างสารตัวหนึ่งชื่อ Cyclic AMP (Cyclic adenosine monophosphate) และจะไปกระตุ้นฮอร์โมนต่างๆ จะไปลดคอเลสเตอรอลของร่างกายด้วยการสังเคราะห์ตัวรับคอเรสเตอรอลขึ้นมา แล้วไปลดโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจต่างๆได้

ข้อเสีย คือ จะมีกรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายสร้างเองได้ จะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นน้องมากโดยเฉพาะ Tryptophan และ Lysine ค่อนข้างน้อยมากๆ ก็จะทำให้มีปัญหา เพราะ ท่านจะต้องกินโปรตีนจากพืชเป็นปริมาณมาก เพื่อจะได้ปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้มากเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากท่านกินพืชที่มีกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายปริมาณมาก จะไปกระตุ้นทำให้ลดการหลั่งอินซูลินลง (อินซูลินจะไปสร้างกล้ามเนื้อ คนเล่นกล้ามบางคนจึงไปฉีดอินซูลินเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ) แล้วไปเพิ่มกลูคากอน เป็นฮอร์โมนซึ่งทำให้ร่างกายผลิตกลูโคสเพิ่มมากขึ้น อินซูลิน กับ กลูคากอนจะมาด้วยกัน ถ้าอินซูลินเพิ่ม กลูคากอนจะลด แต่ถ้า อินซูลินลด กลูคากอน ก็จะเพิ่ม

 

เนื้อแดง โปรตีนสัตว์เสี่ยงมะเร็ง ?

มีงานวิจัยออกมาหลายงาน ว่าการกินเนื้อสัตว์เยอะ จะทำให้เป็นมะเร็งหลายๆ ตำแหน่ง จะมีงานวิจัยขนาดใหญ่ออกมาเมื่อปี 2016 เป็นงานวิจัยที่ลงในวารสาร JAMA Internal Medicine ที่อเมริกา ที่ได้รับความนิยมมากๆ (Source)

ในงานวิจัย จะพบว่า คนที่กินเนื้อสัตว์ที่เกิดอัตราการเสียชีวิต อัตราการเป็นมะเร็ง อัตราการเกิดหลอดเลือดหัวใจและสมองที่สูงกว่า เป็นกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้

  1. อ้วน
  2. สูบบุหรี่
  3. ดื่มเหล้าเยอะ
  4. ไม่ออกกำลังกายเลย

ดังนั้น หากผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยง และกินเนื้อแดงเยอะๆ ก็จะมีโอกาสพบข้อเสีม

 

โปรตีนพืชและสัตว์ ควรทานอย่างสมดุล

ดังนั้นจะเห็นว่าทั้งสองแบบจะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เราควรเดินสายกลาง ควรจะกินเนื้อผสมกับพืช เพื่อได้ทั้งสองทาง หากท่านกินแต่พืช อายุอาจยืนขึ้น แต่ความจำไม่ดี กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ ท่านก็จะหกล้มง่าย ทำอะไรก็ลำบาก แต่หากท่านกินแต่เนื้อ เกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ก็ก่อมะเร็งและโรคต่างๆ ดังนั้นต้องนำไปใช้ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อเอาไปใช้ที่สมองและกล้ามเนื้อ

กลับมาสู่ concept หรือวิธีการคิดแบบดั้งเดิมคือ
– เดินบนทางสายกลาง ควรมีความสมดุลที่ดี
– ออกกำลังกาย
– พักผ่อนให้เพียงพอ

การทานโปรตีน จึงควรทานอย่างสมดุล กินโปรตีนจากสัตว์ จากพืช ถ้าช่วงไหนกินโปรตีนจากเนื้อมาก ก็อาจจะกิน Omega3 เสริม เพราะจะมีมากในโปรตีนจากพืช และ โปรตีนจากเนื้อปลา แต่ถ้าช่วงไหนกินปลาเยอะ ก็จะไม่กิน Omega3 เสริม อาหารเสริมคุณหมอจะกินแล้วแต่อาหารในช่วงนั้นกินอะไร ไม่ได้กินตลอดเวลา เพราะไม่มีประโยชน์

ขอบคุณข้อมูลจาก: Youtube